ราชบุรี ในวันนี้(31 ต.ค.62) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จ.ราชบุรี ต้องเกษียณอายุราชการครูช้า เพราะพ่อแจ้งเกิดผิดและครูคนดังกล่าวก็รวบรวมหลักฐานขอแก้ไขปีเกิดกับทางอำเภอ เพื่อให้เกิดความถูกต้องในระบบราชการ จนสามารถแก้ไขประวัติปีเกิดให้ถูกต้องเรียบร้อย แต่เมื่อขอแก้ไขประวัติปีเกิดกับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (สพม.8) กลับมีมติจากคณะกรรมการ ก.ค.ศ.ให้ยึดถือปีเกิดเดิม ที่มีการลงประวัติกับ(ก.ฟ.7)ไว้แต่แรก ทำให้ต้องเกษียณอายุราชการครูช้ากว่าอายุจริงถึง 4 ปี ทั้งที่มีการนำใบมรณบัตรของแม่เสียชีวิตปี พ.ศ.2504 แต่ใบเกิดของคนดังกล่าวเกิด ปี พ.ศ.2506 พร้อมยื่นคำถามว่า”จะเกิดหลังจากที่แม่เสียชีวิตได้อย่างไร”
หลังได้รับทราบเรื่องราวจึงเดินทางไปตรวจสอบพบ นายสราวุฒิ ลิ้มติ้ว อายุ 59 (ตามวันเดือนปีเกิดจริง) ซึ่งเป็นครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จ.ราชบุรี อยู่บ้านเลขที่ 99/41 ม.5 ต.โคกหม้อ อ.เมือง จ.ราชบุรี ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเกิดที่บ้านเลขที่ 5 ม.7 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2503 ซึ่งทางบ้านได้ไปแจ้งเกิดแล้วกับทางสำนักงานทะเบียนราชในหมู่บ้าน เพราะสมัยที่ตนเกิดนั้นยังเป็นหมอตำแย่ที่ทำคลอด เมื่อคลอดแล้วทางพ่อของตนก็ได้ไปแจ้งเกิดเรียบร้อยแล้ว และเอกสารการแจ้งเกิดก็อยู่กับสารวัตรกำนันเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่รู้อย่างไรสารวัตรกำนันได้ทำเอกสารใบเกิดของตนเองหาย และไม่ได้มีการส่งเรื่องเกิดของตนไปที่อำเภอ จนเมื่อ 1 ปีถนัดมาแม่ของตนก็ได้มาเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัวหลังตนเองเกิดได้เพียง 1 ปี และ 3 ปีถัดมาหลังจากที่ตนเองเกิด ทางอำเภอได้มีการให้ทุกบ้านมาตรวจสอบรายชื่อบุคคลในสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อจัดทำประวัติให้ถูกต้อง และแจ้งว่าใครไม่มีรายชื่อในทะเบียนบ้าน หรือตกหล่นก็ให้มาแจ้งรายชื่อได้ที่อำเภอ เพื่อทางอำเภอจะได้ออกใบให้ถูกต้อง ซึ่งเมื่อพ่อของตนได้ตรวจสอบรายชื่อของคนในครอบครัวแล้ว ก็พบว่าไม่มีรายชื่อของตน จึงได้ไปแจ้งชื่อของตนเองกับทางอำเภอในปี 2506 จนวันเดือนปีของตนกลายเป็น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2506 ซึ่งเมื่อพ่อของตนมาตรวจสอบอีกทีก็พบว่าพ.ศ. ที่เกิดนั้นผิด แต่ก็คิดว่าคงไม่มีผลอะไรเลยไม่ได้ไปแจ้งหรือแก้ไขให้ถูกต้อง จนตนได้รับราชการครู และเมื่อเดือนมกราคม ปี2550 ตนมาตรวจเอกสารของตนเองแล้วพบว่า แม่ของตนเสียชีวิตเมื่อปี 2504 แต่ตนเองเกิดเมื่อปี 2506 ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ตนจะเกิดหลังจากแม่เสียชีวิตได้อย่างไร ตนจึงมาตรวจสอบและทราบความจริงว่า แท้จริงแล้วตนเองเกิดเมื่อวันที่ 20 พ.ย.2503 ตนเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ตนจึงรวมรวบเอกสารและหลักฐานที่บ่งบอกว่าตนเองเกิดวันที่ 20 พ.ย.2503 ไปขอยื่นเรื่องทำเรื่องขอแก้ไขวันเดือนปีเกิดให้ถูกต้องกับทางอำเภอ ซึ่งทางอำเภอก็ได้ดำเนินเรื่องให้และแก้ไขให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งใช้เวลากว่า 8 ปี
หลังจากนั้นประมาณต้นปี 2558 ตนได้ทำเรื่องถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (สพม.8) เรื่องขอความประสงค์ขอแก้ไข ปี พ.ศ.เกิด ให้ถูกต้องในแฟ้มประวัติ (ก.ฟ.7) ที่ระบุว่าตนเกิด”พ.ศ.2506″ เพื่อแก้ไขเป็น”พ.ศ.2503″ให้ถูกต้อง โดยได้ยื่นไปพร้อมเอกสารที่ตนยื่นเรื่องแก้ไขกับทางอำเภอจนสามารถแก้ไขได้แล้วเสร็จ จนเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2559 ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (สพม.8) ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแล้ว มีมติให้ยึดถือ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2506 ตามที่ลงไว้ในทะเบียนประวัติข้าราชการ(ก.ค.ศ.16 หรือ ก.พ.7 เดิม) ทำให้ตนเองต้องไปเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2567 โดยช้ากว่าอายุความเป็นจริงถึง 4 ปี ซึ่งความเป็นจริงแล้วตนเองอยากเกษียณให้ตรงกับอายุจริง โดยทางเพื่อนก็ได้แนะนำให้ไปยื่นเรื่องอุทธรณ์ แต่ตนเองเห็นว่าคงไม่มีผลจึงไม่ได้ไปยื่นเรื่องอุทธรณ์ เพราะได้มีการชี้แจ้งไปกับทางคณะกรรมการ ก.ค.ศ.แล้วหลายครั้ง แต่ตนก็แปลกใจว่าทำไมถึงทางคณะกรรมการ ก.ค.ศ. ถึงแก้ไขให้ตนไม่ได้ ทั้งๆ ที่ทางอำเภอสามารถแก้ไขได้ ซึ่งถ้ามีการขยายอายุเกษียณราชการเป็นจาก 60 ปี เป็นอายุ 63 ปี ตนเองก็จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งถ้ามีการเพิ่มจริง ตนก็ต้องไปเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.2570 ซึ่งตอนนั้นตนก็คงมีอายุ 67 ปี โดยตอนนี้ตนคิดได้อย่างเดียวถ้าเกิดไม่ไหวจริงๆ ตนก็คงต้องยอมลาออกเองก่อนที่จะได้เกษียณอายุราชการ ซึ่งถ้าตนยอมลาออกก็คงต้องเสียประโยชน์ในเรื่องที่ตนเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งตนเองก็ต้องทำใจ แต่ตนก็อยากฝากถึงคณะกรรมการ ก.ค.ศ. ตนเองก็อยากเกษียณอายุราชการตามความเป็นจริง เพราะหลักฐานในมรณบัตรของแม่เสียชีวิตในปี พ.ศ.2504 แต่ตนเองเกิดปี พ.ศ.2506 ตนเองจะเกิดหลังแม่เสียชีวิตแล้วได้อย่างไร ตนจึงอยากให้ทางคณะกรรมการ ก.ค.ศ. พิจารณาใหม่ให้ตนเองได้เกษียณอายุราชการได้ถูกต้องตามอายุจริง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: